การประมาณราคาก่อสร้าง คือ จุดเริ่มต้นของกำไร และ ขาดทุน สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง

2869 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การประมาณราคาก่อสร้าง คือ จุดเริ่มต้นของกำไร และ ขาดทุน สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง

การถอดแบบประมาณราคาก่อสร้างในประเทศไทย เป็นการทำงานตามประสบการณ์การทำงาน และมีพื้นฐานการเรียนจากวิชาประมาณราคาก่อสร้าง เพียง 1 เทอมในระดับ วิชาชีพ ปวช. ปวส. หรือ ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา หรือ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนการถอดปริมาณเป็นชิ้นๆ หรือ ส่วนๆ เช่น คาน 1 ตัว เสา 1 ต้น แค่นั้น ไม่มีการเรียนการสอนการถอดปริมาณที่เป็นสากล การนับวัดปริมาณที่ได้รับการยอมรับหรือตรวจสอบได้เหมือนกันทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้การประมาณราคาก่อสร้างในบ้านเรา ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Trace Back) ไม่มีฐานข้อมูลวัสดุก่อสร้างกลาง หรือ ขององค์กรอย่างแท้จริง (Price Bank)  ไม่มีสูตรการคำนวณปริมาณงาน (SMM - Standard Measurement Method)

ซึ่งต่างประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการประมาณราคาก่อสร้างมาก มีหลักสูตรเรียนเป็นเรื่องเป็นราวในระดับ Diploma ปริญญาตรี และ โท กันเลยทีเดียว  ยกตัวอย่างเช่น https://www.reading.edu.my/for-future-students/courses-programmes/undergraduate-programmes/bsc-quantity-surveying หรือ คลิกที่นี้ และมีการรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคม หรือ สถาบันวิชาชีพ เช่น Institute of Quantity Surveyor  ซึ่งเป็นวิชาชีพทีมีการรับรองในคุณภาพหรือผลงานในการทำงาน  

ซอฟท์แวร์การประมาณราคาก่อสร้างทั่วโลก มีหลากหลายรูปแบบ จากการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแล้วโปรแกรมจะช่วยคำนวณให้ก็มีพัฒนาแนวนี้มาหลายสิบปี แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมแล้วในปัจจุบัน เพราะการถอดแบบปริมาณวัสดุเป็นการเอาแบบก่อสร้างมาจากผู้ออกแบบหลากหลายเจ้ามาถอดแบบ ซึ่งผู้ออกแบบสถาปนิก และ วิศวกรมีฟอร์แมตการเขียนแบบที่แตกต่างกันไป เช่น วิศวกรออกแบบคอนกรีตตามมาตรฐาน ACI Code แต่ตอนเขียนแบบเขียนมา BS 8110 เป็นต้น  โดยเฉพาะหน่วยในประเทศไทยเรา ใช้ทุกหน่วย เช่น ม., ซม.,มม. นิ้ว ฟุต หลา กิโลกรัม ตัน ปอนด์ เป็นต้น และยังแถมมีหน่วย เต็ม หรือ ไม่เต็มอีกต่างหาก ทำให้วุ่นวายในการเขียนมาตรฐานและตรวจสอบ   

การประมาณราคาก่อสร้างในบ้านเรา ก็ทำตามประสบการณ์และความต้องการในแต่ละระดับ ที่มองเห็นความสำคัญในแต่ละบุคคลหรือองค์กร ซึ่งพอจะแบ่งเป็นระดับได้แบบง่ายๆดังนี้ 

ระดับนักประมาณราคาก่อสร้าง

  1. ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้งานและการเรียนรู้ ซึ่งนักประมาณราคาก่อสร้างส่วนใหญ่ในต่างประเทศ จะพบว่าจะมีอายุ 25-35 ปีเป็นส่วนใหญ่ เพราะสายตายังดี ใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง แต่หาดูในบ้านเราพบว่า นักประมาณราคามักจะมีอายุ 40-60 ปี ซึ่งมีความเก๋าในการประมาณราคา 
  2. เอาข้อมูลมาทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น พิมพ์เขียว ไฟล์ DWG, Pdf หรือ แม้กระทั่ง IFC, RVT เป็นต้น

ระดับผู้จัดการฝ่ายประมาณราคาก่อสร้าง หรือ ผู้บริหารบริษัทฯ

  1. แม่นยำ (Accuracy)
  2. สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ (Audit Trail) ว่าตัวเลขต่างๆนั้นมาจากไหน  
  3. นำไปเพิ่มลดปริมาณและราคาต่อหน่วย นาทีสุดท้ายได้ ตอนก่อนยื่นประมูล

ระดับองค์กร

  1. ราคาต่อหน่วยเฉลี่ย ที่เป็นค่า Branch Mark  สิ่งปลูกสร้างต่างๆที่รับงานเป็นหน่วยเฉลี่ยน เช่น โรงพยาบาล จะดูราคาก่อสร้างเป็น ราคาก่อสร้างต่อเตียง หรือ โรงแรม ราคาก่อสร้างต่อห้อง หรือ สนามกอฟท์ ราคาต่อหลุม เป็นต้น
  2. ค่าเฉลี่ย น้ำหนักเหล็กเสริมต่อคอนกรีตคาน ต่อคอนกรีตเสา ต่อคอนกรีตฐานราก เหล่านี้เป็นต้น เช่น เหล็กเสริม 80 กก ต่อ คอนกรีตฐานราก 1 ลบ.ม. เป็นต้น เพื่อเป็นค่าตรวจสอบคุณภาพการประมาณราคา แบบง่ายๆ  
  3. สถิติการประมูงงานได้เทียบต่อการรับงานมาถอดแบบ เช่น 1: 5 เป็นต้น จำนวนนักประมาณราคา ต้นทุน ในแต่ละโครงการแต่ละปี

 

เครื่องมือที่ช่วยให้การประมาณราคาก่อสร้างที่ดีตัวหนึ่ง คือ Cubicost ซึ่งออกแบบมาเป็นโซลูชั่น ที่รับงานมาได้หลากหลายเช่น พิมพ์เขียว  (แล้วทำการนำไปสแกนเป็นรูป jpeg ก่อน แล้วนำมาเปิดในโปรแกรมแล้วทำการ calibate ระยะ) ไฟล์ pdf, dwg แล้วนำเข้ามาในโปรแกรมโปรแกรมจะทำการ auto detect ให้ หรือ เรียกว่า identify ว่าเส้นนั้นเป็น grid line หรือ คาน หลังจากนั้นโปรแกรมจะจัดการหาแบบเดียวกันให้เอง ทำให้โปรแกรมสามารถสร้าง geometry ขนาดองค์อาคาร เช่น เสา คาน พื้น ผนังได้ง่าย รวดเร็ว โปรแกรม Cubicost ได้กำหนดหรือสร้างสูตรมาตรฐาน (SMM - Standard Measurement Method) การคำนวณปริมาณตามมาตรฐานแต่ละประเทศที่มีการกำหนดเป็นมาตรฐานไว้แล้ว แต่ประเทศไทยเราไม่มีสถาบันด้านการสำรวจปริมาณเหมือนต่างประเทศ  ทำให้โปรแกรมสามารถคำนวณปริมาณวัสดุต่างๆได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทำให้สามารถกดดูข้อมูลย้อนหลังได้ว่า ค่าปริมาณนั้นได้มาจากไหน ซึ่งจะแสดงเป็น 3 มิติให้ดู และดูสูตรการคำนวณได้ว่า ถูกต้องหรือเปล่า 

เมื่อได้ปริมาณแล้วก็สามารถสร้างหรือ ออกแบบรูปแบบรายงานให้เป็นช่องตารางแบบเดียวกันกับ Excel เพื่อให้ได้ปริมาณจัดเรียงตามที่เราต้องการดู และสามารถส่งออกไป excel ได้ 

โปรแกรม Cubicost แบ่งเป็น 4 โมดูล คือ 

  1. TAS การถอดปริมาณงานสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง (คอนกรีตและไม้แบบ)
  2. TRB การถอดปริมาณเหล็กเสริม
  3. TME การถอดปริมาณงาน MEP
  4. TBQ สำหรับการสรุปรายงานการถอดแบบจาก 3 โมดูล เพื่อการประมูล

ซึ่งปัจจุบันโปรแกรมจัดจำหน่าย 2 โมดูล เพื่อเริ่มต้น เมื่อใช้งานกันคล่องแล้วจะเริ่มเปิดจำหน่ายอีก 2 โมดูล 

 

โปรแกรม Cubicost TAS

อ้างอิง หรือ ศึกษาเพิ่มเติม :

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้