BIM หรือ Building Information Modeling นั้นเป็นขบวนการทำงานที่สร้างอาคารเสมือนจริงให้เป็นดิจิทัล ซึ่ง BIM นั้นเป็นการจำลองทั้ง รูปทรงอาคาร (geometry) และ รายละเอียดของวัสดุ หรือ อุปกรณ์ของอาคาร ทำให้การสร้างโมเดลอาคารเสมือนจริงนี้ นำไปใช้งานอื่นๆได้ต่อเนื่อง ซึ่งปกติแล้วการสร้าง BIM มักจะเริ่มจากนักออกแบบ หรือ สถาปนิก แล้วให้วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบอาคาร นักสำรวจปริมาณงาน (Quantity Surveyor) นักสร้างภาพ Rendering โรงงานผลิตเหล็กรูปพรรณ (Steel Fabricator) / โรงงานผลิตคอนกรีตพรี คาสท์ (Precast Concrete) โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้จัดการโครงการ ร้านค้าวัสดุ ไปจนถึง ผู้จัดการอาคารหรือทรัพย์สิน (Facilities Management) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำเอาโมเดลอาคาร BIM ไปทำงานต่อโดยไม่ต้องเสียเวลาสร้าง รูปทรงอาคาร หรือ หารายละเอียดอาคารอีกครั้ง ทำให้ลดโอกาสผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลหลายๆครั้ง ทำให้ลดเวลา และ ต้นทุนในการทำงานตลอดอายุการใช้งานอาคารได้มาก
ภาพซ้ายมือ คือ การทำงานแบบเดิม ที่อาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทุกครั้งที่มีความต้องการ ทำให้เสียเวลา ต้นทุน แรงงานมาก และ มีโอกาสผิดพลาดได้สูง ทำให้แบบที่ได้ด้อยคุณภาพ ส่วนภาพขวามือ เป็นการสร้างโมเดลอาคาร BIM (Builing Information Modeling) เป็นการทำงานเป็นระบบ BIM ที่สามารถเป็นไฟล์กลางสามารถแลกเปลี่ยนกันได้กับทุกๆฝ่าย โดยอาจแลกเปลี่ยนโดยนามสกุลเดียวกัน หรือ การส่งออกเป็นนามสกุลกลาง IFC หรือ แม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนโดยเทคโนโลยี ISM (Integrated Structural Modeling) ที่สามารถครอบไฟล์แล้วนำไปทำงานได้โดยไม่ตกหล่น
BIM สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นการทำงานได้ ดังนี้ :
ทูพลัส ซอฟท์ฯ นำเสนอโปรแกรม BIM ชั้นนำของโลก 4 Platforms เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ตามความเหมาะสม
Courtesy : https://www.bimframework.info/stages/
|