6748 จำนวนผู้เข้าชม |
การถอดแบบประมาณราคาก่อสร้าง เป็นงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์การทำงานสูง เพื่อให้ได้ค่าการประมาณราคาที่แม่นยำ และ วางกลยุทธ์การเสนอราคาที่เหมาะสม แต่เดิมการประมาณราคาก่อสร้าง (Estimating) หรือถอดแบบ (Takeoff) เป็นการที่ต้องวัดระยะจากพิมพ์เขียว แล้วนำมาคำนวณพื้นที่ เส้นรอบรูป ในโปรแกรม MS Excel
1. แบบ Lum Sum ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วที่สุด แต่มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มาก ผู้ใช้วิธีนี้จะต้องมีประสบการณ์ในงานก่อสร้างที่ทำมานาน หรือ มีข้อมูลอ้างอิงที่มากพอ ส่วนใหญ่การประมาณราคาแบบนี้มักเป็นการคิดมูลค่างานแบบ Topdown หรือ เป็นการกำหนดงบประมาณโครงการเบื้องต้น เช่น
2. แบบ Parameter Estimating เป็นการคิดราคาที่ทำได้รวดเร็ว มีความแม่นมาก พอสมควร โดยเป็นการกำหนดประเภทงานที่ทำเป็นหมวดๆ โดยเลือกกำหนดราคาในรายการที่มีราคาสูงที่มี % มาก ซึ่งสามารถใช้แบบที่ 2 ผสมกับแบบที่ 3 ได้ 3. แบบ Unit Cost ซึ่งวิธีนี้เป็นการคิดราคาสำหรับใบเสนอราคา BOQ. (Bill of Quantity) สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างหลัก (General Contractor) เช่น คิดค่าทำผนังเป็น ตรม. ค่าก่อผนังอิฐมวลเบา เป็น ตรม. เป็นการรับรวมทั้งอิฐมวลเบา ปูนก่อ เหล็กยึดผนัง เป็นต้น
4. แบบ Detail Estimating เป็นการประมาณราคาที่มีความละเอียดมากที่สุด แต่ใช้เวลานานมากที่สุด ผู้รับเหมาย่อย จะถอดปริมาณงานแบบละเอียด เพื่อเสนอราคารับเหมาก่อสร้าง เช่น ผนังเบา จะต้องคิด แผ่นยิบซั่มบอร์ด เหล็กตัวซี เทปกระดาษ ผงยิบซั่ม สกรูยึดแผ่นยิบซั่ม และ สกรูยึดเหล็กตัวซี สีรองพื้น สีจริง บัวเชิงผนัง ไม้หมอบเพดาน เป็นต้น
โดยวิธีประมาณราคาแบบที่ 1,2,3,4 จะต้องมี 1 เป็นกรอบราคาที่มากที่สุด รองลงมาเป็น 2,3,4 และแต่ละวงควรมีระยะใกล้กันมากที่สุด หากวิธีที่ 2 มากกว่าแบบที่ 1 จะเกิดปัญหาการทำงานก่อสร้าง เพราะงบประมาณที่กำหนดมีราคาน้อยกว่าที่ก่อสร้างจริง
ซึ่งการประมาณราคาก่อสร้างแบบ 3 และ 4 จากเดิมที่ถอดปริมาณงานโดยใช้ไม้สเกลวัดระยะพิมพ์เขียว แล้วคำนวณใน MS Excel ซึ่งใช้เวลานาน ตรวจสอบย้อนกลับได้ยาก โดยเฉพาะหากทำงานกันหลายๆคน ทำให้มีความเสี่ยงในการได้ใบประมาณราคาก่อสร้างที่มีความคลาดเคลื่อนสูง โอกาสชนะการประมูลได้น้อย อาจต้อง 5-10 โครงการกว่าจะได้งานประมูล 1 งาน
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการประมาณราคาด้วยคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ CubiCost ซึ่งเป็นการถอดแบบแบบ Model Based Estimating โดยการกรอกข้อมูลในโปรแกรมแล้วโปรแกรมสร้างเป็นโมเดล 3 มิติ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ากรอกอะไรลงไป และ สามารถตรวจอสอบย้อนกลับได้ (Trace Back) เช่น คอนกรีต 3000 ม3 นั้นมาจากส่วนไหนของอาคาร เป็นคอนกรีตกำลังอัด 280 กก. ต่อ ตร.ซม. และ 340 กก. ต่อ ตร.ซม. และอยู่ในชั้นไหนบ้าง และมาจากเสา คาน พื้น บันได แต่ละเบอร์เท่าไหร่
ในกรณีที่ได้ไฟล์เป็น DWG, PDF โปรแกรมจะช่วยนับคำนวณให้เอง หรือ หากได้ไฟล์ BIM จากโปรแกรม Revit หรือ IFC โปรแกรมจะทำการคำนวณให้อย่างละเอียด โปรแกรมจะแสดงสูตรการถอดนับปริมาณวัสดุได้ เพื่อให้นักประมาณราคาสามารถตรวจสอบการถอดแบบได้ง่าย และ นอกจากจะประมาณราคาได้แล้ว ยังได้ไฟล์เป็นโมเดล BIM นำไปใช้งานต่อได้ในโปรแกรม Revit ได้โดยไม่ต้องสร้างโมเดลอาคารด้วยโปรแกรม BIM