เทคโนโลยีการวางแผนงานก่อสร้างงาน Infrastructure โดยเฉพาะ

3970 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคโนโลยีการวางแผนงานก่อสร้างงาน Infrastructure โดยเฉพาะ

การวางแผนงานก่อสร้างสำหรับงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Works)  เช่น งานก่อสร้างถนน งานป้องกันดินพัง งานท่อ (Pipeline Construction)  สายไฟฟ้า (Power Line Construction) งานก่อสร้างอุโมงค์ (Tunnel Construction) งานก่อสร้างคลองประทาน  งานรางรถไฟ (Railways) มีพฤติกรรมการก่อสร้างแตกต่างไปจากการก่อสร้างอาคารทั่วๆไป เพราะมีความยาวของการทำงานมาเกี่ยวข้อง เช่น กม +0.00- +10.00  เป็นต้น และเป็นการทำงานซ้ำๆ (repeats) การวางแผนงานก่อสร้างทั่วไปที่แสดงเป็น Grantt Chart มักไม่ตอบสนองกับงานประเภทนี้มากนัก 

เทคโนโลยีการวางแผนงานก่อสร้างแบบที่อ้างอิงสถานที่ก่อสร้างตามความยาว มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น Line of Balance , Linear Scheduling หรือ แม้กระทั่ง Location Based Scheduling โดยการวางแผนก่อสร้างจะทำได้ง่ายกว่าการวางแผนงานแบบ Trace Logic หรือ Precedence ทั่วไป และมีความแม่นยำกว่าการวางแผนงานแบบอื่น เพราะเกี่ยวข้องการ productivitiy Rate ทำให้ง่ายในการเข้าใจ เช่น การขุดดินถนน ระหว่างหลัก กม ที่ 1-3 นั้น เป็นดินแข็ง การขุดสามารถขุดได้เพียง 200 ม3 ต่อ วัน ต่อรถขุด (Backhoe) PC200 ต่อ ตัว ในขณะที่ ดินบริเวณ กม ที่ +3.00-+5.00 เป็นดินอ่อน จะมีอัตราการทำงานได้ 400 ม3 ต่อ วันต่อ รถขุด 1 ตัวขนาด PC200 เป็นต้น ทำให้กราฟแสดงความชั้นในงานขุดดินแต่ละ กิโลเมตร มีความชันแตกต่างกัน 

เทคโนโลยีการวางแผนงาน Line of Balance นอกจากจะแสดงกราฟเป็นเส้นๆ ตามความยาวการทำงานแล้ว ยังสามารถแปลงให้เป็น Grantt Chart ตามหลักการคำนวณแบบ CPM (Critical Path Method) ได้อีกด้วย  เพื่อให้ง่ายในการแสดงเป็นรายงานเป็นตารางต่างๆที่คุ้นเคย และ โปรแกรมเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกับโปรแกรมยอดนิยมระดับ Enterprise เช่น Oracle Primavera P6 หรือ MS Project ซึ่งเป็นโปรแกรมวางแผนงานระดับ desktop ได้

สนใจอบรมการวางแผนงานก่อสร้างสำหรับงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Project Scheduling)  กับ ทูพลัส เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้